การจัดการความเจ็บปวด

ปัจจุบันนี้เรารู้มากขึ้นเกี่ยวกับความเจ็บปวดและการบรรเทาความเจ็บปวดมากกว่าแต่ก่อน ซึ่งหมายความว่าเราสามารถป้องกันความเจ็บปวดและจัดการความเจ็บปวดที่ถูกต้องไม่ว่ามากหรือน้อยแก่ผู้ป่วยทุกราย

การจัดการความเจ็บปวดที่ได้ผลดีหมายความว่าเด็กจะกลับมากระฉับกระเฉงอีกครั้งได้เร็วขึ้น ซึ่งจะช่วยทั้งในเรื่องการสมานตัวและการฟื้นตัว

เจ้าหน้าที่จะพยายามป้องกันความเจ็บปวด ประเมินความจำเป็นในการบรรเทาอาการปวด จะให้การบรรเทาอาการปวดที่จำเป็นและจะตรวจสอบว่าได้ผลดี ในฐานะพ่อแม่หรือผู้ปกครอง ท่านสามารถช่วยได้โดยบอกให้เราทราบเมื่อท่านคิดว่าบุตรของท่านมีความเจ็บปวดและผลของการบรรเทาความเจ็บปวดนั้นเพียงพอหรือไม่

การบรรเทาความเจ็บปวดจะเริ่มในระยะแรก การทำเช่่นนี้เพื่อเพิ่มระดับยาลดปวดในเลือดซึ่งหมายถึงการมีปฏิกิริยาของร่างกายต่อความเจ็บปวดลดลง และมักจะต้องการบรรเทาความเจ็บปวดน้อยลงเพื่อคงความเข้มข้นของยาในร่างกาย เพื่อให้ได้ผลที่ดีที่สุดและหลีกเลี่ยง "ความเจ็บปวดระดับสูงสุด" บุตรของท่านจะได้รับการบรรเทาอาการปวดอย่างสม่ำเสมอแม้ว่าจะดูเหมือนว่าบุตรของท่านจะไม่รู้สึกเจ็บปวดก็ตาม ด้วยการให้การบรรเทาอาการปวดและป้องกันความเจ็บปวดอย่างสม่ำเสมอ มักจะจำเป็นต้องให้ยาในปริมาณน้อย นอกจากนี้การทำเช่นนี้ยังช่วยลดความเสี่ยงของผลข้างเคียงเ ช่น ท้องผูกและคลื่นไส้

การรวมกันของยาที่ออกฤทธิ์ด้วยวิธีการที่ต่างกันและวิธีการให้ยาที่แตกต่างกันมักใช้เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ในการจัดการความเจ็บปวด

การให้ยาลดปวดลงในกระแสเลือดโดยตรงทางการให้ยาภายในหลอดเลือดดำนั้นเป็นเรื่องปกติ ในกรณีนี้สามารถให้ยาได้ทั้งแบบฉีดหรือแบบหยดอย่างต่อเนื่องผ่านปั๊มสำหรับการให้ยา นอกจากนี้อาจให้ยาลดปวดโดยการรับประทานในรูปยาเม็ดหรือในรูปแบบของเหลว

การบรรเทาอาการปวดด้วยยาชาเฉพาะที่หมายถึงมีการใช้ยากับหรือฉีดยาเข้าใต้ผิวหนังที่ให้เป็นครั้ง ๆ หรือให้ซ้ำหรือทางหยดยา ยาชาป้องกันไม่ให้มีการส่งสัญญาณความเจ็บปวดในเส้นประสาทที่เลี้ยงบรืเวณที่มีการใช้ยา ครีมยาชาที่เด็กได้รับก่อนที่จะใส่หลอดคาเป็นยาชารูปแบบหนึ่ง

ในกรณีของการบรรเทาอาการปวดจากการบล็อคเส้นประสาท จะมีการฉีดยาชาเข้าไปในบริเวณใกล้เคียงกับกลุ่มของเส้นประสาทเพื่อขัดขวางหรือปิดกั้นการเดินทางของสัญญาณต่าง ๆ ตามเส้นประสาท สามารถให้การบล็อคเส้นประสาททั้งการรักษาครั้งเดียวหรือผ่านการใส่หลอดบาง ๆ ที่สามารถให้ยาได้ในระหว่างการผ่าตัดและหลังการผ่าตัด

การฉีดยาชาเข้าช่องเหนือดูรา (epidural) เป็นตัวอย่างของการบล็อคเส้นประสาทที่เด็กซึ่งได้รับการระงับความรู้สึกจะได้รับการสอดท่อบาง ๆเข้าที่บริเวณหลัง เมื่อใช้การฉีดยาชาเข้าช่องเหนือดูรา ยาชาสามารถส่งผลต่อกระเพาะปัสสาวะในผู้ป่วยจำนวนมาก ซึ่งหมายความว่า เด็กจะไม่รู้ตัวว่า เมื่อใดต้องการที่จะปัสสาวะ ในกรณีส่วนใหญ่ เด็กยังอาจมีการใช้สายสวนปัสสาวะ สายสวนปัสสาวะเป็นท่อ ซึ่งหมายความว่า เด็กจะรู้สึกอยากปัสสาวะแม้ว่ากระเพาะปัสสาวะจะว่างอยู่ก็ตาม นอกจากนี้การฉีดยาชาเข้าช่องเหนือดูรายังส่งผลต่อความแข็งแรงและความรู้สึกที่ขา ดังนั้นการบอกเด็กเกี่ยวกับเรื่องนี้ และบอกว่าท่อพลาสติกบาง ๆ จะไม่ขัดขวางการขยับตัวหรือการนอนหงายบนเตียงจึงเป็นสิ่งสำคัญ

มอร์ฟีนมักใช้ในการบรรเทาความเจ็บปวดโดยส่วนใหญ่ในกรณีที่มีการผ่าตัดหรือการบาดเจ็บที่ร้ายแรงมากขึ้น การติดยาไม่เกิดขึ้นเมื่อใช้มอร์ฟีนเป็นส่วนหนึ่งในการบรรเทาความเจ็บปวด หากบุตรของท่านได้รับมอร์ฟีนหลายครั้งในช่วงเวลาที่นานขึ้น ปริมาณของมอร์ฟีนที่ได้รับจะค่อย ๆ ลดลงเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ความเจ็บปวดเกิดขึ้นอีกและหลีกเลี่ยงอาการถอนยา